มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ป้องกันได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ลำไส้และทวารหนัก
ลำไส้ส่วนปลายเป็นท่อกลวงยาวประมาณ 5 – 6 ฟุต ท่อความยาว 5 ฟุตแรก คือ ส่วนของลำไส้ใหญ่และต่อกับลำไส้ตรงที่ยาวประมาณ 6 นิ้ว ส่วนต่อจากลำไส้ตรง คือ ทวารหนัก หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือแปรของเสียเหลวให้เป็นอุจจาระแข็ง อาหารจะใช้เวลาเดินทางมาสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณ 3 – 8 ชั่วโมงหลังจากถูกรับประทาน ช่วงเวลานี้สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะเป็นของเสียเหลว
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นลำดับที่ 3 ทั้งในชายและหญิง ในประเทศตะวันตก พบ 105,000 ราย ซึ่งเป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยใหม่ทุกปีในประเทศสหรัฐอเมริกา โอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่พบมากขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่า อะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) ส่วนในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
กลุ่มเสี่ยงสูง
- ผู้ที่มีประวัติหรือประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิด
- ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือ โรคโครน (Crohn’s Disease) กลุ่มนี้ควรเริ่มรับการตรวจหามะเร็งก่อนอายุปกติที่ควรตรวจ
- บุคคลที่มีประวัติครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา พี่น้อง หรือบุตร มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดนี้ประมาณ 2/3 ของประชากรปกติ
“ในความจริงแล้วกลับพบว่า ประมาณ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ใหม่ ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง”
ปัจจัยเสี่ยง
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยปัจจัยดังกล่าว ได้แก่
- รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมาก
- รับประทานผักและผลไม้น้อย
- รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
- ออกกำลังกายน้อย
- โรคอ้วน
- สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การกำหนดระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่
- ขั้น 0 (Stage 0) (ระยะก่อนมะเร็ง) พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
- ขั้น 1 (Stage I) พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2 และ 3 ของผนังลำไส้ใหญ่ แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่หรือมากกว่านั้น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กเอ (Dukes’ A) มะเร็งลำไส้ใหญ่ Dukes’ A
- ขั้น 2 (Stage II) มะเร็งลุกลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่ แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง (หน่วยเล็ก ๆ ที่ช่วยต่อสู้การติดเชื้อและโรค) ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กบี (Dukes’ B) มะเร็งลำไส้ใหญ่ Dukes’ B
- ขั้น 3 (Stage III) มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กซี (Dukes’ C) มะเร็งลำไส้ใหญ่ Dukes’ C
- ขั้น 4 (Stage IV) มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น (เช่น ตับและปอด) ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กดี (Dukes’ D) มะเร็งลำไส้ใหญ่ Dukes’ D
อาการบอกโรค
ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการเลือดออกทางทวารหนักหรืออุจจาระปนเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด อุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป (เป็นเส้นเล็กลง) ปวดเกร็งในท้อง
มะเร็งลำไส้ตรงส่วนใหญ่มักแสดงอาการ ซึ่งต่างจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการดังกล่าวคือ อุจจาระปนเลือด ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และปวดเบ่ง คือ อาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงอาจก่อให้เกิด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวดเนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ
การตรวจวินิจฉัย
ผู้ป่วยอาจถูกเข้ารับการตรวจเพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็งดังต่อไปนี้
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง
- ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม
- การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ Carcinoembryonic Antigen (CEA) (การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่)
- เอกซเรย์ทรวงอก
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกราน
นอกจากนี้การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง (EUS)
รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ผู้ป่วยขั้น 0 และ 1
- ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยขั้น 2 และ 3
- ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก ควรให้การฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50 – 60% การให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก
ผู้ป่วยขั้น 4
- ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออก ร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยหรือไม่ร่วมด้วย และผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการจัดการการผ่าตัดตามการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ รังไข่ เป็นต้น
การผ่าตัด
การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำตามตำแน่งที่เกิดในลำไส้ ส่วนกรณีลำไส้ตรงซึ่งอยู่บริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่ ทำให้ศัลยแพทย์ต้องใช้วิธีการผ่าตัดด้วยวิธีจำเพาะเพื่อการเลาะตัดชิ้นเนื้อบริเวณใกล้เคียงเพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งออก
ในผู้ป่วยที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดจะทำให้ก้อนเล็กลงจนผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนออกได้ วิธีนี้เรียกว่า “Down Staging”