ศูนย์โลหิตวิทยา
ศูนย์โลหิตวิทยา พร้อมให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตชนิดอื่น ๆ ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรค ด้วยการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาให้ทันเวลา ตรงกับสาเหตุของโรค โดยให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค พร้อมทั้งแนวทางการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน
- ทีมแพทย์เฉพาะทางมะเร็งสาขาโลหิตวิทยาให้คำแนะนำและรักษาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัย เคมีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด และการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสเตมเซลล์
- ทีมเภสัชกรช่วยดูแลเรื่องยาและปฏิกิริยาระหว่างยาเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด
ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคเลือด หรือโรคทางโลหิตวิทยา อาทิ
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตที่เป็นมะเร็ง (Hematologic Malignancy) แบ่งออกเป็น
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (Leukemia)
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- มะเร็งไขกระดูก (Marrow Cancer)
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตที่ไม่ใช่มะเร็ง (Blood Disorder)
- โรคโลหิตจาง (Anemia)
- โรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจางที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรม (Thalassemia)
- โรคไขกระดูกไม่ทำงาน (Aplastic Anemia)
- โรคอื่น ๆ ที่มีอาการทางโลหิต
- โลหิตจางจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะไตวาย
- อาการเกล็ดเลือดต่ำ
- อาการเลือดออกผิดปกติ
- การรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stem Cell Transplantation) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยชนิดของโรค ระยะอาการ และองค์ประกอบทางร่างกายอื่น ๆ จากแพทย์ก่อน
- กระบวนการรักษาแบบ Targeted Therapy ซึ่งนอกจากตรงกับสาเหตุของโรค ยังช่วยลดผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ ซึ่งช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- บริการครบครันแบบ One Stop Services with Comprehensive Facilities ด้วยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่พร้อมดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษา
สำหรับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stem Cell Transplantation) ผู้ป่วยจะต้องถูกประเมินความพร้อมของร่างกาย รวมถึงการเตรียมตัวและสภาพจิตใจ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมและแผนการรักษาอย่างละเอียดก่อนทำการปลูกถ่าย และต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำการรักษา เช่น ภาวะติดเชื้อจากภูมิต้านทานต่ำ ภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค หรือเกิดภาวะร่างกายปฏิเสธเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง เป็นต้น