มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ข้อเท็จจริงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บปัสสาวะก่อนขับออกจากร่างกาย
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ในทางสถิติพบมากในผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป การรู้เท่าทันและดูแลตัวเองสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการรักษาได้
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นโรคที่สามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาทันที
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่
- การสูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่ เช่น นิโคตินและสารพิษอื่น ๆ จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอาจทำลายเยื่อบุผิวของกระเพาะปัสสาวะ
- การสัมผัสสารเคมี ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น อุตสาหกรรมสี ยาง หรือสารทำความสะอาดอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น
- การติดเชื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เกิดซ้ำบ่อย ๆ หรือการมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- อายุและเพศ ความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นตามอายุและพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ประวัติครอบครัว หากมีสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ความเสี่ยงอาจเพิ่มสูงขึ้น
ชนิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- Transitional Cell Carcinoma พบได้มากที่สุด โดยเซลล์มะเร็งเริ่มต้นที่เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะและแพร่กระจายไปยังเซลล์ไขมันรอบกระเพาะปัสสาวะ
- Squamous Cell Carcinoma เกิดจากการระคายเคืองหรือการอักเสบ มักพบในผู้ที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
- Adenocarcinoma มะเร็งที่พบได้ค่อนข้างยากเพราะเกิดในเซลล์แกลนดูลาร์
- Small Cell Carcinoma เกิดจากเยื่อบุเซลล์เล็กที่เรียกว่า เซลล์นิวโรเอนโดครีน พบได้น้อยมาก
- Sarcoma เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะจนกลายเป็นมะเร็ง
ระยะมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะแบ่งตาม TNM (Tumor, Node, Metastasis) ได้ดังต่อไปนี้
- T1 เนื้องอกมีขนาดเท่ากับหรือน้อยกว่า 2 เซนติเมตร
- T2 เนื้องอกมีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่มากกว่า 5 เซนติเมตร
- T3 เนื้องอกมีขนาดมากกว่า 5 เซนติเมตร
- T4 เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขยายไปถึงผนังด้านนอก ผิวหนัง หรืออวัยวะใกล้เคียง
อาการมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักเริ่มต้นไม่รุนแรง หากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยเร็ว
- ปัสสาวะมีเลือดปน อาจเห็นได้ชัดเจนหรือสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล
- ปัสสาวะบ่อยหรือปวด โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
- เจ็บขณะปัสสาวะ หรือความเจ็บบริเวณท้องน้อย
ตรวจวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะ
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสามารถทำได้โดย
- การตรวจปัสสาวะ
- การส่องกล้องตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)
- การตรวจภาพทางการแพทย์ เช่น อัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
รักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยอาจรวมถึง
- การผ่าตัด เช่น การตัดเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งออก
- การรักษาด้วยเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
- การฉายรังสี ใช้พลังงานรังสีในการลดขนาดหรือทำลายมะเร็ง
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ เช่น
- งดสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- ดื่มน้ำมาก ๆ การดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอช่วยลดการสะสมของสารพิษในกระเพาะปัสสาวะ
- หลีกเลี่ยงสารเคมี โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันและลดการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย
โรงพยาบาลที่ชำนาญการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ไหนดี
ศูนย์อายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย แพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์ พร้อมให้การตรวจวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล ตลอดจนมีทีมสหสาขาคอยดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
แพทย์ที่ชำนาญการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
นพ.จิตรการ มิติสุบิน อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็ง
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็ง ราคาเริ่มต้นที่ 6,500 บาท
สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์อายุรกรรมมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
โทร. 0 2755 1188 (สายด่วนมะเร็ง 8:00 น. – 20:00 น.)
0 2310 3000 (24 ชั่วโมง)
1719 (Local Only 24 ชั่วโมง)